บล็อกนี้ขอมาต่อจากบล็อก I CAN CHANGE ครั้งล่าสุดนะคะ
ก็จากที่ครั้งที่แล้วหลังจากที่อาจารย์ได้แจกชีทที่คนญี่ปุ่นเล่าเรื่อง外国人แล้วให้ลองเขียนเล่าเรื่องใหม่โดยใช้ความรู้ด้านคำศัพท์
สำนวน วิธีการจากคนญี่ปุ่นแล้วนั้น
คราวนี้อาจารย์ก็เลยให้เราลองเล่าเรื่องเดิมนี้ให้เพื่อนฟังสดๆดูอีกรอบ
เพื่อดูว่าเราพัฒนาตรงไหนบ้างค่ะ โอยย ขอบอกว่างานนี้ตอนแรกแอบเครียดค่ะ
เพราะแอบไม่มั่นใจว่าตัวเองจะพัฒนากะเค้ามั้ย =_=;; คือสำหรับเรานี่เวลาพูดทั้งไวยากรณ์ คำศัพท์
สำนวนที่เรียนมาจะลืมไปหมดสิ้น ใช้วิธีแถให้จบประโยคไปซะทุกทีค่ะ ก็เลยกลัวว่าตัวเองจะพัฒนาการถดถอยไปกว่าเดิมค่ะ ฮือๆ T_T
เอาเป็นว่าไปดูกันเลยดีกว่าเนาะ
ว่าหลังจากอ่านเรื่อง外国人มาหลายครั้งแล้ว
พอให้เล่าสดๆอีกรอบเราพูดออกมาเป็นยังไงกันน้า?
「では、その漫画について説明しますね。(はい)まず、ホテルのロビーで(はい)えーと、ソファーに何もしない男の人が(はい)座っています(はい)。で、その人の隣に、新聞を読んでいるおじさんも座っています(はい)。それでね、その近くに(はい)柱を背にして地図を持っている(はい)外国人が立っています。それでね、何もしない男の人が(はい)その外国人とふと目が合ってしまいました。(ああ)はい。私はその外国人がえーと、道がわからないから(ああ、はい)誰かに道を教えてもらいたいので、人を探していると思います。そして、目が合うと、外国人がうれしくなって、なんかニコニコして(はい)ソファーに座っている人に近づいてきました。そして、その人はえーと道を教えたくないから(ああ)、外国人を避けるために、えーと、新聞を読んでいるおじさん、覚えていますか?(はいはい、覚えています)それで、その人は一緒に新聞の陰に隠れて、新聞を読んでいるふりをしまし。(へえ、そうですか)はい、そして外国人はその人の姿を見ると(肺)ちょっとむっとしました。た(ああ)おじさんもちょっと驚きました。(知り合いじゃない?)はいはい、知り合いじゃないです。これは外国人を避ける人の話です(はい)。」
และนี่คือจุดที่เราคิดว่าทำได้ดีขึ้นจากครั้งก่อนนะคะ
1.
บรรยายได้รวบรัดและเข้าใจมากขึ้น เช่น ไม่ต้องบรรยายว่ามีโซฟาอยู่กี่ตัว
หรือตัวละครในเรื่องอายุประมาณเท่าไหร่ แต่บรรยายคร่าวๆพอให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย
2. ใช้คำช่วยอย่างอื่นบ้างนอกจากそしてเข่นで、それで(แต่ก็ยังติดใช้そしてอยู่หลายครั้ง)
3. ใช้คำศัพท์ได้หลากหลายขึ้น ช่วยในการบรรยายเรื่องราวให้ผู้ฟังเห็นภาพมากขึ้น เช่น柱を背にして 、ふと、ニコニコ、隠れて、ムッと
4. ใช้รูปประโยคてしまう、てくるซึ่งช่วยแสดงมุมมอง
5. มีการสรุปลงท้ายว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
6. ใช้คำว่าねบ้าง เป็นการแสดงการโต้ตอบ เปิดโอกาสกับผู้ฟัง
2. ใช้คำช่วยอย่างอื่นบ้างนอกจากそしてเข่นで、それで(แต่ก็ยังติดใช้そしてอยู่หลายครั้ง)
3. ใช้คำศัพท์ได้หลากหลายขึ้น ช่วยในการบรรยายเรื่องราวให้ผู้ฟังเห็นภาพมากขึ้น เช่น柱を背にして 、ふと、ニコニコ、隠れて、ムッと
4. ใช้รูปประโยคてしまう、てくるซึ่งช่วยแสดงมุมมอง
5. มีการสรุปลงท้ายว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
6. ใช้คำว่าねบ้าง เป็นการแสดงการโต้ตอบ เปิดโอกาสกับผู้ฟัง
ส่วนในฐานะผู้ฟัง
ที่ฟังคนอื่นเล่าเรื่องนั้น ก็รู้สึกว่าตัวเองได้พัฒนาด้านการใช้あいづちแสดงการตอบโต้กับผู้พูดมากกว่าเดิมหลายครั้ง
เช่นはい、へえ、うん、そうですか
เป็นต้นค่ะ
ก็สรุปว่าจากการเรียนรู้ในครั้งนี้
ทำให้เราได้พัฒนาตัวเองทั้งในด้านการเล่าเรื่องให้ผู้อื่น
และในด้านการตอบสนองในฐานะผู้ฟังเลยค่ะ ^^ ถือว่ารู้สึกดีใจมากๆค่ะ ที่การใช้ภาษาญี่ปุ่นของตัวเองดีขึ้นแม้จะไม่มากมายก็ตาม ต้องขอขอบคุณอาจารย์ทีช่วยสอนและชี้แนะจุดบกพร่อง และชาวญี่ปุ่นที่ช่วยเล่าเรื่องเป็นตัวอย่างให้ศึกษามากๆเลยนะคะ
วันนี้ขอลาไปก่อน พบกันใหม่ในบล็อกครั้งต่อไปค่ะ ^_^/
このタスクには「目に浮かぶ描写」という設定がありましたか?あったなら、はじめに話したときに何歳ぐらい、と説明していたのはイメージがしやすくなってよかったんじゃないかなと思いました。
ตอบลบわたしが最後のものでいちばん気になったのは「その漫画」。「その」ですかー?はじめにおや?と思ってしまうと、ストーリーに集中できません。
「ふと」「ニコニコして」のような言葉を忘れずに使えたのはとてもよかったですね。
ご意見どうもありがとうございました。m(_ _)m
ลบ