วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

タスク3:I CAN CHANGE!: I See

ต่อจากเอ็นทรี่ที่แล้วนะคะ หลังจากที่ได้เล่าเรื่อง外国人ให้เพื่อนฟังแบบกากๆไปนั้น อาจารย์ก็ได้แจกชีทเรื่อง外国人เวอร์ชั่นที่คนญี่ปุ่นเล่าให้อ่านพร้อมทั้งอธิบายในหลายๆส่วน หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ลองนำสำนวน ศัพท์ เทคนิคการเล่าต่างๆที่ได้เรียนรู้ไปลองใช้ โดยให้แก้ที่ตัวเองเล่าใหม่ และนี่ก็คือเวอร์ชั่นแก้ไขของเราค่า


テルのロビーで若い男の人がソファーに座ってくつろいでいた。彼の隣に新聞を広げて読んだおじさんが座っていた。ソファーの近くに柱を背にして地図を持ってカメラを首からぶら下げた外国人らしい男の人が立っていた。どうやら外国人はどこかに行きたくて道を聞くために人を探しているようだ。ソファーに座っている若い男の人は何もしないでボーっと辺りを見回していると、ふと、外国人と目線が合ってしまった。すると、外国人はニコニコしながら若い男の人に近づいてきた。若い男の人は「やばい!きっとあの外国人が俺に道を聞くつもりに違いない。めんどくさい。どうしよう。」と慌てて、外国人に話しかけるのを避けるために、とっさに隣に座ったおじさんの新聞の陰にかくれて新聞を読んでいるふりをした。新聞を読んだおじさんはちょっとおどろいた。外国人も若い男の人の姿を見てムッとした。つまり、これは外国人に道を聞かれることから逃げようとする人の話だ。

            จากการอ่านของคนญี่ปุ่นแล้วได้ลองแก้ไข ก็ทำให้เราได้ย้อนมองการใช้ภาษาของตัวเอง และได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่างมาก ดังนี้ค่ะ

1. เราเป็นคนติดการใช้そしてเยอะมาก และใช้เชื่อมแทบทุกประโยคเนื่องจากเป็นคำช่วยที่เรียนมาแรกๆและรู้สึกว่าใช้ง่าย ทั้งที่จริงๆคนญี่ปุ่นไม่ใช้คำนี้ในการบรรยายเรื่องราวแบบในที่นี้ เพราะจะเห็นว่าคนญี่ปุ่นแทบไม่ใช้คำนี้เลย แต่จะเล่าต่อๆไปเรื่อยๆ ใช้คำช่วยน้อย ที่ใช้ก็จะเป็นคำพวก すると・そこでซึ่งมักใช้ตอนเหตุการณ์สำคัญๆ หรือพวกคำกริยาวิเศษณ์ และมักเชื่อมประโยคโดยใช้ ~と

2. เราติดการใช้ええとบ่อยมากๆเวลาพูด มีแทบทุกประโยค โดยเฉพาะตอนที่นึกประโยค/คำไม่ออก ซึ่งคนญี่ปุ่นในชีวิตจริงจะไม่ใช้มากขนาดนั้น

3. คนญี่ปุ่นบางคนจะมีการสรุปจบเรื่องราว เช่น「~描いたものである」「という話である」ซึ่งทำให้เข้าใจง่าย ในขณะที่เราจะจบเรื่องไปดื้อๆเลย ทำให้คนฟังอาจจะงงได้

4. รู้สึกว่าตนเองมีการบรรยายที่ละเอียดเกินไป เช่น มีโซฟากี่ตัว ผู้ชายอายุเท่าไหร่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้สำคัญกับเนื้อเรื่องนักจึงสามารถตัดออกไปได้ เพราะคนญี่ปุ่นก็ไม่ได้บรรยายส่วนนี้ละเอียดนัก

5. เราจะใช้แต่ประโยครูปอดีต ในขณะที่คนญี่ปุ่นจะใช้ทั้งรูปอดีตและปัจจุบันปนกัน

6. มีคนญี่ปุ่นบางคนจะเล่ายังไม่พูดถึงตัวละครคุณลุงที่อ่านหนังสือพิมพ์ตั้งแต่แรก จะเน้นไปที่ผู้ชายวัยหนุ่มกับชาวต่างชาติก่อน แล้วค่อยพูดถึงคุณลุงตอนหลัง อาจเพื่อทำให้ผู้อ่านไม่สับสน

7. เราเล่าเรื่องไปแบบเพียวๆ ไม่ได้แสดงความคิดเห็น แต่คนญี่ปุ่นบางคนมีเพิ่มเติมความรู้สึก ความคิดเห็นของตัวเองด้วย  เช่น ที่ตัวละครทำเช่นนั้นก็เพราะเป็นนิสัยของชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ หรือบอกว่าเรื่องนี้สนุก/น่าเบื่อ

นอกจากนี้เรายังได้เรียนรู้ศัพท์ใหม่ๆเยอะมากเลยค่ะ   เช่น目線が合う(สบตา) たまらず(ทนไม่ได้) 拒む (ปฏิเสธ) くつろぐ (ทำตัวตามสบาย) 見回す (มองไปรอบๆ) ふと、たまま (โดยบังเอิญ) ふらさげる (แขวน) どうやら (ดูเหมือนว่า) 時間をつぶす(ฆ่าเวลา) とまどう(ลังเล) 醜態 (สภาพน่าอับอาย) ぼんやり (เหม่อ) 困惑 (ความอึดอัด ยุ่งยาก) เป็นต้นค่ะ



วันนี้ก็ขอจบบล็อกไปแต่เพียงเท่านี้นะค้า สวัสดีค่ะ ^_^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

Template by BloggerCandy.com | Header Image by Freepik