วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

第8課:「詐欺」にかかってしまった!

            คอนนิจิวะ กลับมาพบกันอีกแล้ว แว้ว แว้ว วันนี้コロケーションที่เราอยากมานำเสนอเพื่อนๆก็คือ コロケーションของคำว่า「詐欺」(さぎ)ที่แปลว่าการต้มตุ๋น การฉ้อโกงนั่นเองค่ะ เหตุผลที่เราสนใจการใช้คำนี้ก็เพราะว่า ในวิชา日本語会話เนี่ย มีการบ้านให้ไปคิด長所と短所 (ข้อดีและข้อเสีย) ของตนเองที่จะใช้ตอบเวลาสัมภาษณ์สมัครงานค่ะ ที่นี้เราหลังจากคิดมานานว่าจะตอบอะไรดี (คือมีข้อดีน้อยมากและมีแต่ข้อเสีย555+) ก็เลยกะจะตอบข้อเสียว่าเป็นพวกเชื่อคนง่าย ถูกหลอกง่ายค่ะ แบบชอบถูกหลอกบ่อยๆไรงี้ ทีนี้เราก็เลยกะจะใช้คำว่า詐欺แต่ไม่รู้ว่ามันใช้กับกริยาอะไรยังไง ก็เบนเป็นที่มาของบล็อกครั้งนี้ค่ะ


            ถ้างั้นเรามาดูกันเลยเนอะว่าคำนี้ใช้ยังไงกันบ้าง ^^

            ☆詐欺師(さぎし)นักต้มตุ๋น
           
詐欺師が捕まった。นักต้มตุ๋นถูกจับได้แล้ว

☆詐欺を働く ต้มตุ๋น หลอกลวง
           
:そこにつけ込んで(つけ込むฉวยโอกาส詐欺を働く詐欺師も少なからずいる。มีนักต้มตุ๋นที่ฉวยโอกาสนี้หลอกลวงคนอื่นอยู่ไม่น้อย


            ☆詐欺にかかる・にあうถูกหลอก ถูกต้มตุ๋น
           
:ジョージは詐欺にかかって、その土地を買わされた。จอร์จถูกหลอกให้ซื้อที่ดินนั้น
           
詐欺にあったり、インチキ商品 (ของปลอม ของเก๊)を買わされたりしたことありますか? เคยถูกต้มตุ๋น หรือถูกหลอกให้ซื้อของปลอมไหมคะ

            ☆詐欺事件(さぎじけん)คดีต้มตุ๋น
           
詐欺事件は、年々急激(きゅうげき)に増加(ぞうか)してるんですか?คดีต้มตุ๋มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกๆปีอย่างนั้นเหรอคะ

            หลังจากได้รู้วิธีใช้แล้ว เราก็เลยตัดสินใจเลือกสำนวน詐欺にかかるไปใช้ในการเขียนข้อเสียของเราค่ะ โดยบทพูดข้อเสียที่เราพูดก็ประมาณว่า ถูกนักต้มตุ๋นหลอกว่าขอยืมเงิน แล้วเดี๋ยวเค้าจะเอามาคืน แต่สุดท้ายก็หายจ้อยไปเลย ไร้การติดต่อมา ประมาณนี้ค่ะ

            「私の短所は人を信じやすいと思います。私は他の人の言うことをすぐに信じてしまう癖があります。例えば、アメリカに行ったとき、ぜんぜん知らない人に「私はは財布を盗まれて、もうお金がなくて家に帰れないから、お金を200バーツぐらいちょうだい」と言われました。彼はあとで、メールで私に連絡して、かならずお金を返すと約束しました。私は彼を信じて、お金をあげました。しかし、今まで、ぜんぜん彼から連絡が来ていないんです。詐欺にかかってしまったことがとうとう気づきました。」

สีหน้าตอนที่เพิ่งรู้ตัวว่าโดนหลอก...

            การสืบค้นในครั้งนี้ก็ทำให้เราได้เรียนรู้วิธีใช้คำนี้มากขึ้น และได้ลองนำไปใช้จริงด้วย หวังว่าจะมีประโยชน์กับทุกคนไม่มากก็น้อยนะคะ^-^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

Template by BloggerCandy.com | Header Image by Freepik