วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2558

第9課:「視線」

            สวัสดีค่ะ กลับมาพบกับเอ็นทรี่ความรู้เกี่ยวกับコロケーションกันต่อนะคะ >_< วันนี้コロケーションของคำที่เราอยากพูดถึงก็คือคำว่า「視線」(しせん)ที่แปลว่า สายตา นั่นเองค่า เหตุผลที่สนใจคำนี้ก็มาจากタスクเล่าเรื่อง (I CAN CHANGE!) ที่ผ่านมานั่นเองค่ะ เพราะในเรื่องมีฉากนึงที่ตัวละครในเรื่องไปสบตาปิ๊งๆกับชาวต่างชาติ แล้วอาจารย์สอนคำว่า 視線が合うหรือสบตานั่นเองค่ะ ทีนี้เราเลยอยากรู้ว่า คำว่า視線เนี่ย มีการเอาไปใช้กับสำนวนอื่นอีกมั้ย แล้วใช้กับกริยาตัวไหนบ้าง เราไปเรียนรู้พร้อมๆกันเลยค่ะ

          (人『と』)視線が合う สบตา
         
:ふと(โดยบังเอิญ/โดยไม่ได้ตั้งใจ)二人の視線が合った。พวกเขาสบตากันโดยบังเอิญ


         
:伸一視線が合うと、彼は微笑み(ほほえみ รอยยิ้ม)を返した。พอฉันสบตากับชินอิจิ เขาก็ส่งยิ้มกลับมา
         
สบตากับใคร ใช้คำช่วย

(人『と』)視線を合わせるเอาตาไปสบกับ
:彼女は視線を合わせて、ウインクした。เธอสบตาฉัน แล้วก็ขยิบตาให้
สบตากับใคร ใช้คำช่วยค่ะ


(人・もの『に』)視線を投げる(なげる)จ้องไปที่
:彼女は私鋭い(するどいแหลมคม)視線を投げかけた。เธอจ้องมาที่ฉันด้วยสายตาแหลมคม
จ้องใคร ใช้คำช่วย


(人・もの『に』)視線が集まるสายตามองไปที่… /สนใจ
:すべての視線が彼女集まっていました。ทุกสายตาต่างมองไปที่เธอ/สนใจเธอ
สนใจใคร ใช้คำช่วย

(人・もの『に』)視線が集中する(しゅうちゅうする)สายตาสนใจไปที่/มองไปที่
:みんなの視線が、音のほう集中する。สายตาทุกคนต่างสนใจไปที่ต้นทางของเสียง
สนใจใคร ใช้คำช่วยเช่นกันค่ะ

            (人・もの『に』)視線を注ぐ(そそぐ)มองอยางสนใจ/สนใจ
            :ぼく視線を注いでいる人はほとんどいない。ไม่ค่อยมีคนสนใจผมหรอก
            หันไปมองใคร ใช้คำช่วย

(人・もの『に』)視線を向けるหันไปมองที่หันสายตา/เบนสายตาไปที่
:彼女は母親の方視線を向けた。เธอหันสายตาไปที่แม่ของเธอ
หันไปมองใคร ใช้คำช่วย


☆視線を浴びる(あびる)ถูกจ้องโดยคนมากมาย
:非難(ひなんตำหนิติเตียน)の視線を浴びる。ถูกมองด้วยสายตาตำหนิติเตียน

(方向『に』)視線を落とす(おとす)มองไปข้างล่าง
:やがて部長は足元視線を落し考えこんだ。หลังจากนั้นหัวหน้าก็มองไปยังบริเวณเท้าพลางครุ่นคิด
มองไปยังตรงจุดไหนใช้คำช่วย


☆視線をそらすหลบสายตา หันหนี
:見つめているのに気づかれないよう視線をそらす。หลบตาทำเป็นไม่รู้ตัวว่ามีคนมอง


จากการค้นหาข้อมูลก็ทำให้รู้ว่าคำว่า視線นี่ใช้กับกริยาหลายตัวเลยค่ะ โดยส่วนใหญ่ถ้ามองอะไรก็จะใช้คู่กับคำช่วยหรือค่ะ โดยส่วนตัวคำที่ชอบที่สุดคือคำว่า視線をそらすที่แปลว่าหลบสายตาค่ะ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยรู้คำนี้มาก่อน เวลาอธิบายก็เลยต้องพูดอ้อมๆไปว่า見えないふりแกล้งทำเป็นไม่เห็น อะไรแบบนี้ค่ะ แต่ตอนนี้รู้วิธีใช้แล้ว ก็จะลองเอาไปใช้ดูค่ะ ^^

นอกจากนี้จากที่สังเกตการใช้ของคนญี่ปุ่น จะเห็นว่าสำนวน視線ข้างบนแทบทั้งหมด จะสามารถใช้คำว่าแทนที่คำว่า視線ได้หลายคำค่ะ คือ目が合う、目を合わせる、目を注ぐ、目を向ける、目を落とす、目をそらすส่วนคำที่นิยมใช้視線มากกว่า คือ 視線を投げる、視線が集まる、視線が集中する、視線を浴びるค่ะ ซึ่งเป็นจุดที่ต้องระวังในการใช้ค่ะ

วันนี้ก็ได้เรียนรู้สำนวนไปหลายคำเลย ลองเอาไปใช้กันดูนะคะ^^

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558

タスク4:I CAN CHANGE!: New me

            บล็อกนี้ขอมาต่อจากบล็อก I CAN CHANGE ครั้งล่าสุดนะคะ ก็จากที่ครั้งที่แล้วหลังจากที่อาจารย์ได้แจกชีทที่คนญี่ปุ่นเล่าเรื่อง外国人แล้วให้ลองเขียนเล่าเรื่องใหม่โดยใช้ความรู้ด้านคำศัพท์ สำนวน วิธีการจากคนญี่ปุ่นแล้วนั้น คราวนี้อาจารย์ก็เลยให้เราลองเล่าเรื่องเดิมนี้ให้เพื่อนฟังสดๆดูอีกรอบ เพื่อดูว่าเราพัฒนาตรงไหนบ้างค่ะ โอยย ขอบอกว่างานนี้ตอนแรกแอบเครียดค่ะ เพราะแอบไม่มั่นใจว่าตัวเองจะพัฒนากะเค้ามั้ย =_=;; คือสำหรับเรานี่เวลาพูดทั้งไวยากรณ์ คำศัพท์ สำนวนที่เรียนมาจะลืมไปหมดสิ้น ใช้วิธีแถให้จบประโยคไปซะทุกทีค่ะ  ก็เลยกลัวว่าตัวเองจะพัฒนาการถดถอยไปกว่าเดิมค่ะ ฮือๆ T_T


          เอาเป็นว่าไปดูกันเลยดีกว่าเนาะ ว่าหลังจากอ่านเรื่อง外国人มาหลายครั้งแล้ว พอให้เล่าสดๆอีกรอบเราพูดออกมาเป็นยังไงกันน้า?

         では、その漫画について説明しますね。(はい)まず、ホテルのロビーで(はい)えーと、ソファーに何もしない男の人が(はい)座っています(はい)。で、その人の隣に、新聞を読んでいるおじさんも座っています(はい)。それでね、その近くに(はい)柱を背にして地図を持っている(はい)外国人が立っています。それでね、何もしない男の人が(はい)その外国人とふと目が合ってしまいました。(ああ)はい。私はその外国人がえーと、道がわからないから(ああ、はい)誰かに道を教えてもらいたいので、人を探していると思います。そして、目が合うと、外国人がうれしくなって、なんかニコニコして(はい)ソファーに座っている人に近づいてきました。そして、その人はえーと道を教えたくないから(ああ)、外国人を避けるために、えーと、新聞を読んでいるおじさん、覚えていますか?(はいはい、覚えています)それで、その人は一緒に新聞の陰に隠れて、新聞を読んでいるふりをしまし。(へえ、そうですか)はい、そして外国人はその人の姿を見ると(肺)ちょっとむっとしました。た(ああ)おじさんもちょっと驚きました。(知り合いじゃない?)はいはい、知り合いじゃないです。これは外国人を避ける人の話です(はい)。」

และนี่คือจุดที่เราคิดว่าทำได้ดีขึ้นจากครั้งก่อนนะคะ
1. บรรยายได้รวบรัดและเข้าใจมากขึ้น เช่น ไม่ต้องบรรยายว่ามีโซฟาอยู่กี่ตัว หรือตัวละครในเรื่องอายุประมาณเท่าไหร่ แต่บรรยายคร่าวๆพอให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย
2. ใช้คำช่วยอย่างอื่นบ้างนอกจาก
そしてเข่นで、それでแต่ก็ยังติดใช้そしてอยู่หลายครั้ง
3. ใช้คำศัพท์ได้หลากหลายขึ้น ช่วยในการบรรยายเรื่องราวให้ผู้ฟังเห็นภาพมากขึ้น เช่น柱を背にして 、ふと、ニコニコ、隠れて、ムッと
4. ใช้รูปประโยคてしまう、てくるซึ่งช่วยแสดงมุมมอง
5. มีการสรุปลงท้ายว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
6. ใช้คำว่า
บ้าง เป็นการแสดงการโต้ตอบ เปิดโอกาสกับผู้ฟัง

ส่วนในฐานะผู้ฟัง ที่ฟังคนอื่นเล่าเรื่องนั้น ก็รู้สึกว่าตัวเองได้พัฒนาด้านการใช้あいづちแสดงการตอบโต้กับผู้พูดมากกว่าเดิมหลายครั้ง เช่นはい、へえ、うん、そうですか เป็นต้นค่ะ

ก็สรุปว่าจากการเรียนรู้ในครั้งนี้ ทำให้เราได้พัฒนาตัวเองทั้งในด้านการเล่าเรื่องให้ผู้อื่น และในด้านการตอบสนองในฐานะผู้ฟังเลยค่ะ ^^ ถือว่ารู้สึกดีใจมากๆค่ะ ที่การใช้ภาษาญี่ปุ่นของตัวเองดีขึ้นแม้จะไม่มากมายก็ตาม ต้องขอขอบคุณอาจารย์ทีช่วยสอนและชี้แนะจุดบกพร่อง และชาวญี่ปุ่นที่ช่วยเล่าเรื่องเป็นตัวอย่างให้ศึกษามากๆเลยนะคะ



วันนี้ขอลาไปก่อน พบกันใหม่ในบล็อกครั้งต่อไปค่ะ ^_^/

วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

第8課:「詐欺」にかかってしまった!

            คอนนิจิวะ กลับมาพบกันอีกแล้ว แว้ว แว้ว วันนี้コロケーションที่เราอยากมานำเสนอเพื่อนๆก็คือ コロケーションของคำว่า「詐欺」(さぎ)ที่แปลว่าการต้มตุ๋น การฉ้อโกงนั่นเองค่ะ เหตุผลที่เราสนใจการใช้คำนี้ก็เพราะว่า ในวิชา日本語会話เนี่ย มีการบ้านให้ไปคิด長所と短所 (ข้อดีและข้อเสีย) ของตนเองที่จะใช้ตอบเวลาสัมภาษณ์สมัครงานค่ะ ที่นี้เราหลังจากคิดมานานว่าจะตอบอะไรดี (คือมีข้อดีน้อยมากและมีแต่ข้อเสีย555+) ก็เลยกะจะตอบข้อเสียว่าเป็นพวกเชื่อคนง่าย ถูกหลอกง่ายค่ะ แบบชอบถูกหลอกบ่อยๆไรงี้ ทีนี้เราก็เลยกะจะใช้คำว่า詐欺แต่ไม่รู้ว่ามันใช้กับกริยาอะไรยังไง ก็เบนเป็นที่มาของบล็อกครั้งนี้ค่ะ


            ถ้างั้นเรามาดูกันเลยเนอะว่าคำนี้ใช้ยังไงกันบ้าง ^^

            ☆詐欺師(さぎし)นักต้มตุ๋น
           
詐欺師が捕まった。นักต้มตุ๋นถูกจับได้แล้ว

☆詐欺を働く ต้มตุ๋น หลอกลวง
           
:そこにつけ込んで(つけ込むฉวยโอกาส詐欺を働く詐欺師も少なからずいる。มีนักต้มตุ๋นที่ฉวยโอกาสนี้หลอกลวงคนอื่นอยู่ไม่น้อย


            ☆詐欺にかかる・にあうถูกหลอก ถูกต้มตุ๋น
           
:ジョージは詐欺にかかって、その土地を買わされた。จอร์จถูกหลอกให้ซื้อที่ดินนั้น
           
詐欺にあったり、インチキ商品 (ของปลอม ของเก๊)を買わされたりしたことありますか? เคยถูกต้มตุ๋น หรือถูกหลอกให้ซื้อของปลอมไหมคะ

            ☆詐欺事件(さぎじけん)คดีต้มตุ๋น
           
詐欺事件は、年々急激(きゅうげき)に増加(ぞうか)してるんですか?คดีต้มตุ๋มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกๆปีอย่างนั้นเหรอคะ

            หลังจากได้รู้วิธีใช้แล้ว เราก็เลยตัดสินใจเลือกสำนวน詐欺にかかるไปใช้ในการเขียนข้อเสียของเราค่ะ โดยบทพูดข้อเสียที่เราพูดก็ประมาณว่า ถูกนักต้มตุ๋นหลอกว่าขอยืมเงิน แล้วเดี๋ยวเค้าจะเอามาคืน แต่สุดท้ายก็หายจ้อยไปเลย ไร้การติดต่อมา ประมาณนี้ค่ะ

            「私の短所は人を信じやすいと思います。私は他の人の言うことをすぐに信じてしまう癖があります。例えば、アメリカに行ったとき、ぜんぜん知らない人に「私はは財布を盗まれて、もうお金がなくて家に帰れないから、お金を200バーツぐらいちょうだい」と言われました。彼はあとで、メールで私に連絡して、かならずお金を返すと約束しました。私は彼を信じて、お金をあげました。しかし、今まで、ぜんぜん彼から連絡が来ていないんです。詐欺にかかってしまったことがとうとう気づきました。」

สีหน้าตอนที่เพิ่งรู้ตัวว่าโดนหลอก...

            การสืบค้นในครั้งนี้ก็ทำให้เราได้เรียนรู้วิธีใช้คำนี้มากขึ้น และได้ลองนำไปใช้จริงด้วย หวังว่าจะมีประโยชน์กับทุกคนไม่มากก็น้อยนะคะ^-^

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

タスク3:I CAN CHANGE!: I See

ต่อจากเอ็นทรี่ที่แล้วนะคะ หลังจากที่ได้เล่าเรื่อง外国人ให้เพื่อนฟังแบบกากๆไปนั้น อาจารย์ก็ได้แจกชีทเรื่อง外国人เวอร์ชั่นที่คนญี่ปุ่นเล่าให้อ่านพร้อมทั้งอธิบายในหลายๆส่วน หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ลองนำสำนวน ศัพท์ เทคนิคการเล่าต่างๆที่ได้เรียนรู้ไปลองใช้ โดยให้แก้ที่ตัวเองเล่าใหม่ และนี่ก็คือเวอร์ชั่นแก้ไขของเราค่า


テルのロビーで若い男の人がソファーに座ってくつろいでいた。彼の隣に新聞を広げて読んだおじさんが座っていた。ソファーの近くに柱を背にして地図を持ってカメラを首からぶら下げた外国人らしい男の人が立っていた。どうやら外国人はどこかに行きたくて道を聞くために人を探しているようだ。ソファーに座っている若い男の人は何もしないでボーっと辺りを見回していると、ふと、外国人と目線が合ってしまった。すると、外国人はニコニコしながら若い男の人に近づいてきた。若い男の人は「やばい!きっとあの外国人が俺に道を聞くつもりに違いない。めんどくさい。どうしよう。」と慌てて、外国人に話しかけるのを避けるために、とっさに隣に座ったおじさんの新聞の陰にかくれて新聞を読んでいるふりをした。新聞を読んだおじさんはちょっとおどろいた。外国人も若い男の人の姿を見てムッとした。つまり、これは外国人に道を聞かれることから逃げようとする人の話だ。

            จากการอ่านของคนญี่ปุ่นแล้วได้ลองแก้ไข ก็ทำให้เราได้ย้อนมองการใช้ภาษาของตัวเอง และได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่างมาก ดังนี้ค่ะ

1. เราเป็นคนติดการใช้そしてเยอะมาก และใช้เชื่อมแทบทุกประโยคเนื่องจากเป็นคำช่วยที่เรียนมาแรกๆและรู้สึกว่าใช้ง่าย ทั้งที่จริงๆคนญี่ปุ่นไม่ใช้คำนี้ในการบรรยายเรื่องราวแบบในที่นี้ เพราะจะเห็นว่าคนญี่ปุ่นแทบไม่ใช้คำนี้เลย แต่จะเล่าต่อๆไปเรื่อยๆ ใช้คำช่วยน้อย ที่ใช้ก็จะเป็นคำพวก すると・そこでซึ่งมักใช้ตอนเหตุการณ์สำคัญๆ หรือพวกคำกริยาวิเศษณ์ และมักเชื่อมประโยคโดยใช้ ~と

2. เราติดการใช้ええとบ่อยมากๆเวลาพูด มีแทบทุกประโยค โดยเฉพาะตอนที่นึกประโยค/คำไม่ออก ซึ่งคนญี่ปุ่นในชีวิตจริงจะไม่ใช้มากขนาดนั้น

3. คนญี่ปุ่นบางคนจะมีการสรุปจบเรื่องราว เช่น「~描いたものである」「という話である」ซึ่งทำให้เข้าใจง่าย ในขณะที่เราจะจบเรื่องไปดื้อๆเลย ทำให้คนฟังอาจจะงงได้

4. รู้สึกว่าตนเองมีการบรรยายที่ละเอียดเกินไป เช่น มีโซฟากี่ตัว ผู้ชายอายุเท่าไหร่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้สำคัญกับเนื้อเรื่องนักจึงสามารถตัดออกไปได้ เพราะคนญี่ปุ่นก็ไม่ได้บรรยายส่วนนี้ละเอียดนัก

5. เราจะใช้แต่ประโยครูปอดีต ในขณะที่คนญี่ปุ่นจะใช้ทั้งรูปอดีตและปัจจุบันปนกัน

6. มีคนญี่ปุ่นบางคนจะเล่ายังไม่พูดถึงตัวละครคุณลุงที่อ่านหนังสือพิมพ์ตั้งแต่แรก จะเน้นไปที่ผู้ชายวัยหนุ่มกับชาวต่างชาติก่อน แล้วค่อยพูดถึงคุณลุงตอนหลัง อาจเพื่อทำให้ผู้อ่านไม่สับสน

7. เราเล่าเรื่องไปแบบเพียวๆ ไม่ได้แสดงความคิดเห็น แต่คนญี่ปุ่นบางคนมีเพิ่มเติมความรู้สึก ความคิดเห็นของตัวเองด้วย  เช่น ที่ตัวละครทำเช่นนั้นก็เพราะเป็นนิสัยของชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ หรือบอกว่าเรื่องนี้สนุก/น่าเบื่อ

นอกจากนี้เรายังได้เรียนรู้ศัพท์ใหม่ๆเยอะมากเลยค่ะ   เช่น目線が合う(สบตา) たまらず(ทนไม่ได้) 拒む (ปฏิเสธ) くつろぐ (ทำตัวตามสบาย) 見回す (มองไปรอบๆ) ふと、たまま (โดยบังเอิญ) ふらさげる (แขวน) どうやら (ดูเหมือนว่า) 時間をつぶす(ฆ่าเวลา) とまどう(ลังเล) 醜態 (สภาพน่าอับอาย) ぼんやり (เหม่อ) 困惑 (ความอึดอัด ยุ่งยาก) เป็นต้นค่ะ



วันนี้ก็ขอจบบล็อกไปแต่เพียงเท่านี้นะค้า สวัสดีค่ะ ^_^
 

Template by BloggerCandy.com | Header Image by Freepik